วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบสุริยะจักรวาล




ดูภาขนาดใหญ่ คลิ๊กที่นี่
     ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite)

     ระบบสุริยะของเรามีอายุมากกว่า 4,600 ล้านปี อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ก่อกำเนิดจากกลุ่มก๊าซที่เย็นตัวลงหลังการระเบิดใหญ่ (Big Bang) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาราจักรต่างๆมากมายเหลือคณานับ ระบบสุริยะของเราประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยและวัตถุอื่นๆเป็นสมาชิก นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอนเพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง

      โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต

 และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อวกาศ

       อวกาศคือ บริเวณที่อยู่ไกลออกไปจากโลกจากดวงดาวทั้งหลาย อวกาศเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ อวกาศหลาย ๆ อวกาศรวมกันเป็นจักรวาล นักวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายคนเชื่อว่า จักรวาลเกิดขึ้นจากการระเบิดครั้งรุนแรงที่เรียกว่า บิก แบงค์ (big bang) เมื่อ 14 ล้านล้านปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่รู้ว่าจักรวาลกว้างให้แค่ไหนเท่าที่ศึกษาได้ จักรวาลนั้นมีขอบเขตมาก    
      300 ปีแสงในห้วงอวกาศ จักรวาลประกอบด้วยอะตอมมากมาย เมื่อจักรวาลเย็นลง อะตอมเหล่านี้ก็จับตัวกันเป็นอนุภาคต่าง ๆ อะตอมในอวกาศจะรวมเข้าด้วยกันด้วยแรงดึงดูดจากดาวฤกและดาวเคราะห์      
      1 ปีแสงเท่ากับ 9,460,000,000 กิโลเมตร ระบบสุริยะเป็นกลุ่มของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ดังนั้นโลกจึงอยู่ในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ ดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์ของเรา ดาวเคราะห์ที่ว่านั้นมีดังนี้ พุทธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พลูโต